วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1
กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 
หน่วยการเรียนรู้ที่  1  การนับศักราชและการแบ่งช่วงเวลาของประวัติสาสตร์ไทย    เวลา  1 ชั่วโมง
สาระที่  4  ประวัติศาสตร์                                                                        ผู้สอน  นางสาวมาริสา    มามะ
มาตรฐานที่  ส4.1.1  เข้าใจความหมายความสำคัญของการนับเวลา   การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์  และเทียบศักราชในระบบต่าง ๆ  เพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง

1.  สาระสำคัญ
                ประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวของสังคมมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปในมิติของเวลา   เพราะกาลเวลาจะบอกเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตผ่านไปนานมากน้อยแค่ไหน  ถ้าไม่นานก็บอกเป็นเดือน  เป็นปี  หรือศักราช  แต่ถ้านานมากก็บอกเป็นช่วงเวลาหรือสมัย  ถ้านาน ๆ  ก็บอกเป็นยุค   ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถเปรียบเทียบได้
2.  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
            2.1  รู้และเข้าใจในการเทียบศักราชแบบต่าง ๆ 
            2.2 วิเคราะห์ความสำคัญของการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ไทยได้
            2.3  สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.  จุดประสงค์การเรียนรู้
                หลังจากครูสอนเรื่องการนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยแล้ว  นักเรียนมีความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้
           3.1  ระบุความสัมพันธ์  เทียบศักราชแบบต่าง ๆ  และแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยได้
           3.2  ให้ความร่วมมือกับคนในกลุ่ม  ด้วยความเต็มใจ  ไม่เกี่ยงงาน  ไม่ละทิ้งหน้าที่ตั้งใจทำงาน
               

           3.3  รู้จักรักษามรดกที่บรรพบุรุษได้สร้างและสะสมไว้ด้วยความยากลำบาก  ให้คงทนถาวรตลอดไป 
4.  สาระการเรียนรู้
          ด้านความรู้  ความเข้าใจ (K)
         1.  การนับศักราช การเทียบศักราช  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

         ด้านทักษะกระบวนการ (P)
         2.  การทำงานร่วมกับผู้อื่น  ทักษะในทางสังคมย่อย  การปรับตัวให้อยู่ร่วมกันในสังคม 
โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ  ร่วมกัน  เช่น  การทำงาน  การเล่น การเรียน  และการพยายามแก้ปัญหาร่วมกันอย่ามีเหตูผลและถูกวิธี
         ด้านเจตคติ  ค่านิยม  คุณธรรม  (A)
          3.  ความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ  สำนึกในคุณต่อผู้ทำประโยชน์และเสียสละชีพเพื่อชาติ  พึงระลึกไว้เสมอว่าทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของประเทศ  ไม่ควรเพิกเฉยนิ่งดูดาย  ต่อการทำประโยชน์ให้กับประเทศ  บ้านเกิดเมืองนอนของตน  แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม
5.  กระบวนการจัดการเรียนรู้
         ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
          5.1  ครูพูดคุยทักทายกับนักเรียน  เช็คชื่อว่าใครมาเรียน  ลาเรียน  และขาดเรียนบ้าง
          5.2  ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการถามว่า
นักเรียนคะ  ปีนี้  พ.ศ. 2550  ตรงกับคริสต์ศักราชที่เท่าไรคะ  เมื่อนักเรียนตอบได้ก็บอกว่าถูกต้องค่ะ  ที่ครูให้นักเรียนเทียบศักราช  เพราะว่าวันนี้เราจะเรียนเรื่องการนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยนะคะ
           5.3  ถ้านักเรียนตอบไม่ได้ให้ครูพูดว่า
อ้าว !  ไม่เป็นไรค่ะนักเรียน   ตอนนี้นักเรียนยังตอบครูไม่ได้  แต่ว่าครูเชื่อว่าเมื่อพวกเราเรียนเรื่องการนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยจบแล้วนักเรียนจะตอบคำถามครูได้   อ้าว !   งั้นเรามาเริ่มเรียนกันเลยนะคะ
           ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
            5.4  ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษางาน  แบ่งเป็น  5  กลุ่ม   กลุ่มละ  7 - 8   คน แล้วจับฉลากเพื่อแบ่งหัวข้อที่แต่ละกลุ่มจะได้ศึกษา  ซึ่งมี  5  หัวข้อ ดังนี้
                              

                                1. การนับศักราช
                                2.  การเทียบศักราช
                                3.  การแบ่งช่วงเวลาแบบสากล
                                4.  การแบ่งช่วงเวลาแบบไทย
                                5.   ความภาคภูมิใจและวิธีการรักษามรดกที่บรรพบุราได้สร้างสมไว้

              5.5  ครูแจกใบความรู้ให้กับนักเรียนทุกคนในกลุ่ม
  
              5.6  นักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่มของตนเอง  และสรุปเป็นองค์ความรู้ของแต่ละกลุ่ม  ( ครูแจกกระดาษฟูลสแค๊ปและปากกาเคมี )
               5.7  ตัวแทนแต่ละกลุ่ม  ออกไปอภิปรายหน้าชั้น  เกี่ยวกับสิ่งที่กลุ่มของตนได้สรุปเป็นองค์ความรู้   
              
ขั้นสรุป
               
5.8  ครูเพิ่มเติมเนื้อหาให้สมบูรณ์  โดยสรุปเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงนั้น  
               5.9  ครูแจกใบงานให้นักเรียนทำเป็นการบ้าน  พร้อมทั้งกำหนดสถานที่และวันส่งให้ชัดเจน 
 
6.  วัสดุ   อุปกรณ์   สื่อ  /   แหล่งเรียนรู้
               6.1  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา   และวัฒนธรรม   ประวัติศาสตร์ ม.1  ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544
               6.2  ใบความรู้ที่ครูทำขึ้น
               6.3  ห้องสมุด
               6.4  อินเตอร์เน็ต (
www.aksorn.com/Lib/S/Soc_04
)               
               6.5  ปากกาเคมี
               6.6  กระดาษฟูลสแค๊ป
               6.7  ฉลาก  5  ใบ  ( ที่ใช้เป็นหัวข้อในการศึกษางานกลุ่ม )
7.  การวัดผลประเมินผล
      7.1  สิ่งที่ต้องการวัด/วิธีวัด
                   7.1.1  ความรู้ความเข้าใจของการเทียบศักราชแบบต่าง ๆ  จากการทำแบบฝึกหัด
                   7.1.2 ทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม  จากสถานการณ์จริงที่นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษาใบงาน  จนกระทั่งได้เป็นองค์ความรู้ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
                   7.1.3  ความภาคภูมิใจ และรู้จักวิธีรักษามรดกที่บรรพบุรุษได้สร้างสมไว้  จากแบบฝึกหัดข้อที่  5  
       7.2  เครื่องมือ
                   7.2.1  แบบฝึกหัด
                   7.2.2  แบบสังเกตพฤติกรรม
        7.3  เกณฑ์การประเมินผล
                   7.3.1  แบบฝึกหัดมี  5  ข้อ  ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้  
                      ข้อ  1และ2  ข้อละ  5  คะแนน,  ข้อ  3   1  คะแนน,  ข้อ  4 และ5 ข้อละ  2  คะแนน
                      
ข้อ  1  และ  2  ตอบถูกได้  1  คะแนน  ตอบผิดได้  0                                           
                      ข้อ  3  ตอบถูกได้  1  คะแนน  ตอบผิดได้  0
                      
ข้อ  4  ตอบถูกได้  2  คะแนน  ตอบผิดได้  1  คะแนน                                           

                       ข้อ  5  ขอเพียงให้ตอบตามความเข้าใจได้  2  คะแนน
    รวมทั้งหมด  15  คะแนน  ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ  70  คือต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า  10.5
                    7.3.2  พฤติกรรมผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ  70
    รวมคะแนนพฤติกรรม  20  คะแนน  คือต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า  14  จึงจะผ่าน
8.  ข้อเสนอแนะ
          ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (ซึ่งการเรียนการสอนครั้งนี้คือการทำงานกลุ่ม)      เป็นหัวใจสำคัญของวิชาสังคมศึกษา  นั่นคือ  การนำความรู้ที่ได้มาปฏิบัติจริง  วิชาสังคมศึกษาแตกต่างไปจากวิชาอื่น  เช่น  ภาษาไทย  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ที่ว่าเมื่อเรียนไปแล้วครูจะสามารถวัดประเมินความเข้าใจได้ทันที  ทักษะในวิชาสังคมศึกษาการวัดผลประเมินผลต้องอาศัยเวลา  อาศัยการสังเกต  และมาตรฐานของสังคมในการตัดสิน  ครูไม่สามารถให้คะแนนอย่างชัดเจนในชั่วโมงเรียนได้

กิจกรรมที่10

     


      1.  กรณีเขาพระวิหาร
            เขาพระวิหาร ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอน้ำยืน กิ่งอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีเนื้อที่ประมาณ 81,250 ไร่ หรือ 130 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารทางด้านบริเวณผามออีแดง ท้องที่ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
            ปัญหาแรกก็คือการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกอย่างเช่น ฝรั่งเศสที่ยึดกัมพูชาไปจากไทยเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่  2 จบลง   ฝรั่งเศสหมดอำนาจลง   กัมพูชาเป็นอิสระปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์
             อย่างไรก็ตามปัญหาที่ตามมาสำหรับประเทศไทยและกัมพูชาที่ยืดเยื้อมายาวนานคือสิทธิในดินแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ยังพิพากษ์กันอย่างต่อเนื่องนับวันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยประเทศไทยต้องเสียเขาพระวิหารและดินแดนบริเวณที่ตั้งของเขาพระวิหารใน ช่วงที่ ม. ร. ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา และมีปัญหาความขัดแย้งมาโดยตลอดในเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ จนกระทั่ง 2-3 ปี ที่ผ่านมาความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรง ขึ้นเมื่อกัมพูชาพยายามผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่บริเวณข้างๆเขาพระวิหารด้วยมีปัญหาคือพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ ต่อมาในช่วงที่ผ่านมาเกิดเหตุคนไทยถูกจับกุมในพื้นที่ พิพาทนี้ทำให้มีปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน
       2.   กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
            เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัว  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยรู้และตระหนักเรื่องของดินแดนขึ้นมาเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะไม่ให้จังหวัดของประเทศเรากลายไปเป็นของคนอื่น  ดั้งนั้นเรื่องนี้รัฐบาลจึงต้องดูแลและรักษาดินแดนไว้ซึ่งดินแดนไว้ให้สมบูรณ์ครบถ้วน
       3.   กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
              MOU 43 คือการร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีสาระสำคัญคือ ข้อ ก. อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส แก้ไขเพิ่มเติมข้อบทแห่งสนธิสัญญาฉบับ ลงวันที่ 3 ตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก 112 หรือปี ค.ศ.1893 ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่นๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศกปี 122 ปี ค.ศ. 1904  ข้อ ข. สนธิสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 ปี ค.ศ. 1907 หรือว่า 2450 กับพิธีศาลว่าด้วยการปักปันเขตแดน แนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 หรือ ปี ค.ศ. 1907 และข้อ ค. ซึ่งเป็นข้อที่สำคัญมากคือแผนที่ที่จัดทำตามผลงานของการปักปันเขตแดนของคณะ กรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี 1904 และสนธิสัญญาฉบับปี 1907 กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาฉบับ 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส  ตามการจัดทำแผนที่ มาตราส่วน 1:200,000ซึ่งทำให้ดินแดนพิพาทเป็นของกัมพูชา
              สำหรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจาก MOU 43 นั้น ต้องบอกว่าเหลือคณานับ เช่น ประชาชนชาวไทยที่ลงทุนปลูกยางพารา  และคนไทยที่ทำกินอยู่ในระแวกนั้นต้องศูนย์เสียที่อยู่ที่ทำกินอย่างถาวรเกิดเป็นปัญหาการจัดสรรที่อยู่ใหม่ปัญหาสังคมตามมา  แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุดเห็นจะเป็นเรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนไทยที่จะต้อง เปลี่ยนไปถึงขั้นต้องตีพิมพ์แผนที่ประเทศไทยใหม่กัน ทีเดียว   
       4.  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชา             
            ที่พรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงถึงกรณีคนไทย 7 คนที่ถูกประเทศกัมพูชาจับกุม โดยล่าสุดนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคนไทยอีก 4 คนได้เดินทางกลับประเทศไทยแล้วว่า เมื่อศาลพิพากษาจำคุก 9 เดือนแต่ให้รอลงอาญานั้น รู้สึกเห็นใจนายพนิชที่ลงพื้นที่ตามคำสั่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และเข้าใจว่านายพนิชคงจะได้รับความชอกช้ำ แต่นายอภิสิทธิ์ที่เป็นคนสั่งลูกพรรคตัวเองให้ลงพื้นที่จนเกิดปัญหาความสุ่มเสี่ยงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา โดยเชื่อว่าในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 ที่ประเทศบาห์เรนนั้น กัมพูชาจะหยิบยกกรณีนี้ขึ้นมาเป็นข้ออ้างจนอาจทำให้ไทยเสียเปรียบได้
              เหตุการณ์ลักษณะนี้ถ้าเกิดในอดีตสมัยของพระนเรศวรเจ้ารับรองป่านนี้คงรู้ดำรู้แดงไปแล้ว  ไม่ปล่อยให้เค้ามาเยาะเย้ยถากถางมาจนทุกวันนี้  คิดแล้วน้อยใจแทนคนไทยเรา  ครั้งหนึ่งเราเคยมีไมตรีเอื้ออารีประเทศนี้ แต่ก็เข้าทำนอง ชาวนากับงูเห่า พอมีเรียวแรงก็แวงกัด  แต่ก็ไม่เคยจำไม่รู้เป็นเพราะมีประโยชน์อะไรแอบแฝงหรือเปล่า  ทั้งๆ ที่รู้เค้าคิดไม่ดีกับเรา(เป็นแหล่งพักพิง) เราก็ยังดีกับเค้า  แต่เค้าก็ไม่เคยจริงใจกับเรา  ท่านนายกฯ คิดใหม่ทำใหม่เถอะ  ถ้าเจรจาไม่รู้เรื่องจะต้องใช้กำลังก็ใช้ อย่าให้เค้าดูถูกคนไทยดูถูกประเทศไทย  สงสารบรรพบุรุษ

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 9

 จากการดูทีวีในแหล่งความรู้โทรทัศน์ เรื่อง อาชีพการเป็นคุณครู
 การเป็นครูที่ดีควรที่จะประกอบไปด้วย
        ครูจะต้องมีคุณสมบัติ
    1. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์
    2. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม
    3. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม
   4. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
   5. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด
  6. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
การเป็นครูที่ "ดี" นั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆดังนี้
1. ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ทันสมัยและเหมาะสมอยู่เสมอ
2. มีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน
3. มีบุคลิกภาพที่ดี
4. มีความรู้ความชำนาญในงานที่สอน
5. มีความอดทน
6. มีลักษณะซึ่งผู้เรียนให้ความไว้วางใจ
7. มีความกระตือรือร้นในการถ่ายทอดความรู้
8. มีความจริงใจ
9. มีลักษณะเป็นผู้นำ
        คุณสมบัติแรกที่ผู้เรียนทุกระดับขั้นมักจะให้ความสำคัญคือ "ความสามารถในการสอน" หรือเทคนิคในการสอนนั้นเอง ทั้งนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องทุ่มเทหัวใจให้กับงานทั้งหมด และตระหนักว่าผลของความสำเร็จจะไม่เป็นตามกฎเกณฑ์ หรือ ทฤษฎีที่ตั้งไว้ ลักษณะการสอนในแนวความคิดนี้จะไม่ยึดกฎเกณฑ์เป็นหลักตายตัว แต่จะต้องอาศัยความยึดหยุ่น คือสามารถทำสิ่งที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม เช่น สามารถใช้วิธีสอนได้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน การสอนจะประสบความสำเร็จต้องอาศัยหลักทฤษฎีซึ่งมีผลจากการทดลองวิจัยมาเป็นตัวสนับสนุนการสอนที่ดีมิใช่ศิลปะหรือเป็น "พรสวรรค์" ที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวบุคคลบางคน แต่การสอนที่ดีเป็นผลมาจากการฝึกอย่างเชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับทุกคนได้
        ทั้งนี้เพราะข้อมูลทางด้านศิลปะจะทำให้เกิด "ใจรัก" ส่วนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จะทำให้เกิด "ความเชี่ยวชาญ" คือมีความรู้ และมีใจรักในการถ่ายทอดความรู้ก็จะเป็นครูผู้นั้นมีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน และมีความรู้ในหลัก"จิตวิทยาการศึกษา" โดยอาศัยเนื้อหาต่าง ๆ ที่อธิบายไว้ในบทต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั่นเองในสังคมไทยการพัฒนาเพื่อเป็นครูที่ดีนั้นสามารถใช้หลักปฏิบัติทาง พุทธศาสนาได้อย่างดียิ่ง ตัวอย่างเช่น หลักอิทธิบาท 4 ซึ่งประกอบด้วย
    1.ฉันทะ คือ ความพอใจในสิ่งนั้น ในที่นี้หมายถึงความพึงพอใจในอาชีพครูซึ่งเมื่อมีความพอใจเป็น
อันดับแรกแล้วจะทำให้ง่ายต่อการพัฒนา
   2.วิริยะ คือ ความเพียรพยายาม เมื่อครูพึงพอใจ สนใจ เอาใจใส่ต่ออาชีพของตนเองแล้ว
   3.จิตตะ คือ ความตั้งใจจริง เอาใจใส่ฝึกฝน เพื่อเป้าหมายในการเป็นครูที่ดีดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ว่าการเป็นครูที่ดีนั้นสามารถฝึกฝนได้ ถ้ามีความตั้งใจจริง แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้เพื่อเป็นแนว
ทางมีมากมาย
  4.วิมังสา คือ ความหมั่นติตรอง พิจารณา เหตุผลในสิ่งนั้น ใน ขั้นนี้ถือเป็นขั้นสำคัญเพราะข้อมูล
ต่างๆ ที่ได้มามากมายจะไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าปราศจากการคิดพิจารณาไตร่ตรองเพื่อนำมาใช้ให้
เกิดประโยชน์ พร้อมทั้งสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นมาดัดแปลงใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และสถาบันการศึกษาที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกันมากมาย