วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่10

     


      1.  กรณีเขาพระวิหาร
            เขาพระวิหาร ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอน้ำยืน กิ่งอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีเนื้อที่ประมาณ 81,250 ไร่ หรือ 130 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารทางด้านบริเวณผามออีแดง ท้องที่ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
            ปัญหาแรกก็คือการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกอย่างเช่น ฝรั่งเศสที่ยึดกัมพูชาไปจากไทยเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่  2 จบลง   ฝรั่งเศสหมดอำนาจลง   กัมพูชาเป็นอิสระปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์
             อย่างไรก็ตามปัญหาที่ตามมาสำหรับประเทศไทยและกัมพูชาที่ยืดเยื้อมายาวนานคือสิทธิในดินแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ยังพิพากษ์กันอย่างต่อเนื่องนับวันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยประเทศไทยต้องเสียเขาพระวิหารและดินแดนบริเวณที่ตั้งของเขาพระวิหารใน ช่วงที่ ม. ร. ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา และมีปัญหาความขัดแย้งมาโดยตลอดในเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ จนกระทั่ง 2-3 ปี ที่ผ่านมาความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรง ขึ้นเมื่อกัมพูชาพยายามผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่บริเวณข้างๆเขาพระวิหารด้วยมีปัญหาคือพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ ต่อมาในช่วงที่ผ่านมาเกิดเหตุคนไทยถูกจับกุมในพื้นที่ พิพาทนี้ทำให้มีปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน
       2.   กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
            เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัว  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยรู้และตระหนักเรื่องของดินแดนขึ้นมาเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะไม่ให้จังหวัดของประเทศเรากลายไปเป็นของคนอื่น  ดั้งนั้นเรื่องนี้รัฐบาลจึงต้องดูแลและรักษาดินแดนไว้ซึ่งดินแดนไว้ให้สมบูรณ์ครบถ้วน
       3.   กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
              MOU 43 คือการร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีสาระสำคัญคือ ข้อ ก. อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส แก้ไขเพิ่มเติมข้อบทแห่งสนธิสัญญาฉบับ ลงวันที่ 3 ตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก 112 หรือปี ค.ศ.1893 ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่นๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศกปี 122 ปี ค.ศ. 1904  ข้อ ข. สนธิสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 ปี ค.ศ. 1907 หรือว่า 2450 กับพิธีศาลว่าด้วยการปักปันเขตแดน แนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 125 หรือ ปี ค.ศ. 1907 และข้อ ค. ซึ่งเป็นข้อที่สำคัญมากคือแผนที่ที่จัดทำตามผลงานของการปักปันเขตแดนของคณะ กรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี 1904 และสนธิสัญญาฉบับปี 1907 กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาฉบับ 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส  ตามการจัดทำแผนที่ มาตราส่วน 1:200,000ซึ่งทำให้ดินแดนพิพาทเป็นของกัมพูชา
              สำหรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจาก MOU 43 นั้น ต้องบอกว่าเหลือคณานับ เช่น ประชาชนชาวไทยที่ลงทุนปลูกยางพารา  และคนไทยที่ทำกินอยู่ในระแวกนั้นต้องศูนย์เสียที่อยู่ที่ทำกินอย่างถาวรเกิดเป็นปัญหาการจัดสรรที่อยู่ใหม่ปัญหาสังคมตามมา  แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุดเห็นจะเป็นเรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนไทยที่จะต้อง เปลี่ยนไปถึงขั้นต้องตีพิมพ์แผนที่ประเทศไทยใหม่กัน ทีเดียว   
       4.  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชา             
            ที่พรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงถึงกรณีคนไทย 7 คนที่ถูกประเทศกัมพูชาจับกุม โดยล่าสุดนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคนไทยอีก 4 คนได้เดินทางกลับประเทศไทยแล้วว่า เมื่อศาลพิพากษาจำคุก 9 เดือนแต่ให้รอลงอาญานั้น รู้สึกเห็นใจนายพนิชที่ลงพื้นที่ตามคำสั่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และเข้าใจว่านายพนิชคงจะได้รับความชอกช้ำ แต่นายอภิสิทธิ์ที่เป็นคนสั่งลูกพรรคตัวเองให้ลงพื้นที่จนเกิดปัญหาความสุ่มเสี่ยงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา โดยเชื่อว่าในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 ที่ประเทศบาห์เรนนั้น กัมพูชาจะหยิบยกกรณีนี้ขึ้นมาเป็นข้ออ้างจนอาจทำให้ไทยเสียเปรียบได้
              เหตุการณ์ลักษณะนี้ถ้าเกิดในอดีตสมัยของพระนเรศวรเจ้ารับรองป่านนี้คงรู้ดำรู้แดงไปแล้ว  ไม่ปล่อยให้เค้ามาเยาะเย้ยถากถางมาจนทุกวันนี้  คิดแล้วน้อยใจแทนคนไทยเรา  ครั้งหนึ่งเราเคยมีไมตรีเอื้ออารีประเทศนี้ แต่ก็เข้าทำนอง ชาวนากับงูเห่า พอมีเรียวแรงก็แวงกัด  แต่ก็ไม่เคยจำไม่รู้เป็นเพราะมีประโยชน์อะไรแอบแฝงหรือเปล่า  ทั้งๆ ที่รู้เค้าคิดไม่ดีกับเรา(เป็นแหล่งพักพิง) เราก็ยังดีกับเค้า  แต่เค้าก็ไม่เคยจริงใจกับเรา  ท่านนายกฯ คิดใหม่ทำใหม่เถอะ  ถ้าเจรจาไม่รู้เรื่องจะต้องใช้กำลังก็ใช้ อย่าให้เค้าดูถูกคนไทยดูถูกประเทศไทย  สงสารบรรพบุรุษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น