วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว



ชื่อนางสาวมาริสา  มามะ
ชื่อเล่น ดา
กำลังศึกษาอยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
คณะครุศาสตร์  โปรแกรมสังคมศึกษา
ชั้นปีที่ 3  ห้องเรียน 02
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโคกมือบามิตรภาพที่223
จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแสงธรรมวิทยา
คติประจำใจ  อุปสรรค คือปัญหา  การได้มา คือบทเรียน 

ประเมินการใช้เครื่องมือบล็อก

  นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
 1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
มีความสะดวก  ความสบายมากและก็ไม่เครียดกับงานที่ทำต้องส่ง จะส่งเวลาไหนก็ได้แล้วแต่เราขอแค่มีอินเตอร์เน็ตใช้เพราะบางทีเวลาในคาบเรียนน้อยไม่พอต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน เวลาทำงานเสร็จก็จะได้ส่งเลยไม่ต้องรอส่งในคาบเรียนและไม่ต้องพิมพ์ลงกระดาษ
 2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ  
ได้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างบล็อกมากและวิธีการตกแต่งบล็อกให้ดูสวยงาม น่าสนใจ  การใช้เครื่องมือในการเสนองานและวิธีการนำเสนองานได้หลากหลายได้วิธีการสร้างภาพสไลด์โชว์ในบล็อกเป็นการประหยัดเนื้อที่ในคอมพิวเตอร์
 3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
        ข้อดี  จากการเรียนวิชาการบริหารจัดการในชั้นเรียนโดยวิชานี้มีความแตกต่างกับวิชาอื่นซึ่งอาจารย์ได้สอนความรู้ใหม่ๆ  ขั้นตอนใหม่ๆและ ความรู้ในการทำ Web Blog เป็นของตัวเอง จึงมีความประทับใจและชอบที่ได้เรียนวิชานี้
         ข้อเสีย  การสอนของอาจารย์อาจจะไม่ละเอียดในด้านเนื้อหามากนักและก็ไม่ครอบคลุมเท่าไร  ทำให้เกิดความลำบากในการเรียน   จึงเกิดปัญหาในคาบเวลาเรียน และทุกคนก็ยังไม่มีคอมที่จะใช้งาน                                     
        ข้อเสนอแนะ  ถ้าหากอาจารย์จะสอนการใช้ Web blog แล้วก็ควรที่จะหาห้องเรียนที่มีคอมพิวเตอร์พร้อมที่จะรองรับนักศึกษาที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ในการเรียน เพื่อความสะดวกสบายในการเรียน
4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์เลือกตอบข้อเดียว                                       
(เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)

สอบครั้งที่ 2

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1. Classroom management   เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการในชั้นเรียนโดยครูผู้สอนจะเป็นคนกำหนดว่าห้องเรียนนั้นจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับครูผู้สอนและครูก็จะต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้เรียนด้วย
2. Happiness Classroom การจัดห้องเรียนให้มีความสุขโดยครูกับนักเรียนต้องให้ความร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายจึงจะเกิดผลดีต่อผู้เรียนและผู้สอนและเด็กกับครูก็จะมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญต่างกันออกไป
3. Life-long Education หมายถึง การรับรู้ ทักษะ และเจตคติตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆโดยสามารถจะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างอย่างมีระบบหรือไม่มีระบบทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลเกิดการพัฒนาด้วยตนเองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจ 
4. Formal Education เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน ซึ่งการศึกษาในระบบของไทยประกอบไปด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา  
5. Non-formal education หมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กโดยเน้นการเรียนรู้ แต่ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือกระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนทั้งที่เป็นทัศนคติทักษะและความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป  
6. E-learning   การเรียนการสอนในลักษณะหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำหรือผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซเรย์ หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม  
7. Graded การเรียนระดับชั้น ก็คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก
8.  Policy education  เรื่องการเมือง (Politics) และเรื่องการศึกษา (Education) ความเข้าใจทั้ง 2 เรื่อง ต้องไปพร้อมกันในการสร้างสังคมประชาธิปไตย เรื่อง ประชาธิปไตย จะได้เข้าใจตั้งแต่เด็ก เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกัน (mutual understanding) ทั้งเรื่องการเมืองและการศึกษาทั่วไป เป็นสองคำที่โดยปกติจะเน้นทางการเมือง แต่ต้องไม่ลืมว่าการศึกษา (Education) มีบทบาทเป็นกลางที่สำคัญในการทำหน้าที่ให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน สิ่งที่เราพบเห็นข่าวทางโทรทัศน์ ได้ยินทางวิทยุ ล้วนไม่ใช่การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง หรือพัฒนาพลเมือง หากแต่เป็นเพียงการรับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองเท่านั้น (Political Information)
9.Vision  วิสัยทัศน์คือการสร้างภาพอนาคตหรือการมองอนาคตซึ่งจะเป็นเป้าหมายในการเดินไปสู่อนาคตโดยวิธีการนำเอาระบบการวางแผนมาใช้หรือหมายถึงสิ่งที่อยากเห็นในอนาคตและเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิมวิสัยทัศน์จะเกิดจากการรู้จักคิดโดยใช้ปัญญาและมุ่งมั่นให้เกิดขึ้นจริงซึ่งวิสัยทัศน์ที่ดีนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะ8ประการดังนี้
                1.มุ่งเน้นอนาคต
                2.เต็มไปด้วยความสุข
                3.ความเหมาะสม
                4.สะท้อนความฝันสูงสุด
                5.อธิบายจุดมุ่งหมาย
                6.ดลบันดาลความกระตือรือร้น
                7.สะท้อนความเป็นหนึ่งเดียว
                8.ความมักใหญ่ใฝ่สูง

10. Mission พันธ์กิจมีคำที่ใช้แทนกันอยู่หลายคำ เช่น ภารกิจหรือปณิธานพันธ์กิจคือ จุดมุ่งหมายพื้นฐานซึ่งแสดงเหตุผลหรืออธิบายว่าทำไมองค์กรจึงถือกำเนิดขึ้นมาหรือดำรงอยู่เป็นหลักการที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์
11. Goals  เป้าหมาย คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้นแต่ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝันและสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการเป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ
12. Objective  หมายถึง เป้าหมายเพื่อไปให้ถึงทีเราต้องการจะไปหรือเป้าหมายที่ตัวเองต้องการ
13. backward design การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูพันธ์ใหม่หรือมืออาชีพเพื่อเรียนรู้และการทำงานของครูต้องไม่แยกจากกันครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่องแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับเพื่อนครูผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา ปรับปรุง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครูทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือปฏิบัติแล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ต่อผู้อื่น
14. Effectiveness  คือ การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในที่นี้หมายถึงทำงานได้อย่างมีคุณภาพและถูกต้องและครูควรปฏิบัติในหน้าทีของตนเองให้ดีที่สุด
15. efficiency  คือการทำงานอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพต่อตนเองและผู้อื่นเป็นอย่างดี
16. Economy  เศรษฐกิจคือการกระทำใดๆอันก่อให้เกิดการผลิตการจำหน่ายและการบริโภคซึ่งความหมายในทางเศรษฐกิจจะแตกต่างจากความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปบ้างดังนี้
        1. การผลิตคือการกระทำเพื่อให้เกิดผลที่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้หากการกระทำใดซึ่งผลของการกระทำแม้จะมีคุณค่ามีประโยชน์แต่ไม่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้การกระทำนั้นในความหมายทางเศรษฐกิจไม่ถือเป็นการผลิตและผลของการกระทำก็ไม่เรียกผลผลิตอาจจะเรียกเป็นผลงาน
        2.การจำหน่ายคือการนำผลผลิตไปเสนอต่อผู้ที่มีความต้องการหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือการนำผลผลิตไปสู่ตลาด เพื่อให้เกิดการซื้อขายกันขึ้น
       3.การบริโภคคือการจับจ่ายใช้สอยรวมถึงการรับประทานด้วยจะมองเห็นได้ว่าเศรษฐกิจนั้นจะเน้นที่ราคาหรือเงินของบางสิ่งถึงแม้จะมีประโยชน์ซึ่งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตจะขาดเสียมิได้ เช่น อากาศสำหรับหายใจแต่เนื่องจากอากาศมีอยู่ทั่วไปซื้อขายกันไม่ได้อากาศจึงไม่ถือเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจแต่ถ้ามีคนเอาอากาศนั้นมาบรรจุในภาชนะเพื่อจำหน่ายอากาศเช่นนั้นก็กลายเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจไปดังนั้นเมื่อพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจจึงต้องเกี่ยวข้องกับราคาหรือเงิน
17. Equity  ความเสมอภาคมีหลักความเสมอภาคอาจแยกได้ 2 ประเภท ดังนี้คือ
                1. หลักความเสมอภาคทั่วไปหลักความเสมอภาคทั่วไปเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลทุกคนที่อาจกล่าวอ้างกับการกระทำใด ๆ ของรัฐได้ เช่น ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 30 ว่า "บุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน"
                2. หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง
หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง คือ หลักความเสมอภาคที่ใช้เฉพาะภายในขอบเขตเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น หลักความเสมอภาคเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับชายและหญิง ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากนั้นยังปรากฏในมาตรา 54 "บุคคลอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือ"
พัฒนาการแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพและความเสมอในด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญไทย
18. Empowerment   การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจเพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิตวิถีการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
19. Engagement   คือ การสร้างความเชื่อมั่น และผูกพันกับแบรนด์อย่างลึกซึ้งของลูกค้าที่พร้อมมีส่วนร่วมในการช่วยแบรนด์สร้างความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง
20.Engagement  นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วยคือไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กรรู้สึกดีกับองค์กรก็เลยไม่อยากไปไหนแต่ก็ไม่สามารถสร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย20.Project หมายงถึงโครงการคือโครงการ คือกิจกรรมหรือแผนงานที่เป็นหน่วยอิสระหนึ่งที่สามารถทำการวิเคราะห์วางแผนและนำไปปฏิบัติพร้อมทั้งมีลักษณะแจ้งชัดถึงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดโดยแผนสำหรับกิจการต่างๆต้องระบุวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาที่กำหนดแต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงาน ดังนั้นโครงการ จึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ของการวางแผนที่จะทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย
21. Actives   คือความอดทนการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนา หรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเทอะไรลงไปของเสียของหอมของสกปรกหรือของดีงามก็ตาม งานทุกชิ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่ ที่สำเร็จขึ้นมาได้นอกจากจะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำแล้ว ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมอันหนึ่งเป็นพื้นฐานจึงสำเร็จได้ คุณธรรมอันนั้นคือ ขันติ
22.Ladership   ความเป็นผู้นำคือกระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือมากกว่าพยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตนกระตุ้นชี้นำผลักดันให้บุคคลอื่นหรือกลุ่มบุคคลอื่นมีความเต็มใจและกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่างๆตามต้องการโดยมีความสำเร็จของกลุ่มหรือองค์การเป็นเป้าหมาย
23.Leaders   การเขียนคือการสื่อสารชนิดหนึ่งของมนุษย์ที่ต้องอาศัยความพยายามและฝึกฝนการเขียนเป็นการแสดงความรู้ความคิดความรู้สึกความต้องการเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านได้เข้าใจได้ทราบความรู้ความคิดความรู้สึกความต้องการแล้วสามารถนำมาบอกบอกต่อกับบุคคลอื่นให้ได้ความรู้ที่ผู้รับสารได้รับเครื่องมือในการเขียนเช่น ดินสอ ปากกา สี พู่กัน กระดาษ กระดาน ฯลฯ การเขียนจะต้องเขียนเป็นภาษาซึ่งอาจเขียนเป็นภาษาเดียวหรือหลายภาษาก็ได้                                                                                                                         
24. Follows  เวลาทำคือเวลาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานหนึ่งของจักรวาล ให้เหตุการณ์ต่าง ๆ ดำเนินอยู่ในนั้น ซึ่งเป็นแนวคิดของ ไอแซก นิวตันอีกมุมมองหนึ่งกล่าวว่า เวลาเป็นสิ่งสมมุติเช่นเดียวกับพื้นที่ (สเปซ) และตัวเลข มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นลำดับ แต่ไม่ได้หมายความว่าเวลากับเหตุการณ์เหล่านั้นจะรวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งเป็นแนวคิดของ อิมมานูเอล คานต์  และ กอตฟรีด ไลบ์นิซบางทีมุมมองทั้งสองเกี่ยวกับเวลาก็ยังน่าสับสนอยู่จึงมีการนิยามโดยการปฏิบัติซึ่งมักใช้การเคลื่อนที่หรือการเปลี่ยนแปลงแบบเป็นคาบของวัตถุเป็นตัววัดเวลา เช่น ดิถี (ข้างขึ้นข้างแรม) ของดวงจันทร์ การแกว่งของลูกตุ้ม การขึ้นและตกของตนเอง
25.Situations   สถานการณ์คือสิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศที่เอื้ออำนวยสำหรับมนุษย์ที่ต้องการความสะดวกสบายในการดำเดินชีวิตประจำวัน
26. Self awareness   การรู้จักตนคือการเข้าใจความรู้สึกของตนเองและจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาวตลอดจนการรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
27.Communicatio  การสื่อสารคือขบวนการถ่ายทอดความรู้สึกคิดสู่กันในทางคอมพิวเตอร์หมายถึงการส่งสัญญาณข่าวสารที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สู่กันขบวนการสื่อสารที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และตัวกลางผู้นำข่าวสารไปสู่ปลายทาง การสื่อสารดังกล่าวอาจอยู่ในรูปของการสื่อสารแบบจุดต่อจุด(จากผู้ส่งไปสู่ผู้รับโดยตรง)หรือแบบกระจาย(จากผู้ส่งไปสู่กลุ่มผู้รับ)
28.Assertiveness  คือความกล้าแสดงออกคือพฤติกรรมที่แสดงออกมาในเชิงสร้างสรรค์เชิงบวกเพื่อความถูกต้อง เหมาะสม ให้เกียรติ ตามกาลเทศะ สุภาพเรียบร้อย มีปิยวาจา มีเมตตาธรรม โดยที่มีสิทธิปกป้องสิทธิของตนหากเขาไม่เห็นด้วยหรือคิดว่าในภายหลังจะต้องมารับผลที่ตามมอบ
29.Timemanagement   การบริหารเวลาการบริหารคือการดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุ เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้น 
30. POSDCoRB  =  กลายเป็นคัมภีร์ของการจัดองค์การในต้นยุคของศาสตร์การบริหารซึ่งตัวย่อแต่ละตัวมีความหมายดังนี้
P – Planning                      หมายถึง การวางแผน
O – Organizing                  หมายถึง การจัดองค์การ
S – Staffing                        หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน
D – Directing                     หมายถึง การสั่งการ
Co – Coordinating             หมายถึง ความร่วมมือ
R – Reporting                     หมายถึง การรายงาน
B – Budgeting                    หมายถึง งบประมาณ
                                                                                       
31.Formal   การพูดอย่างเป็นทางการได้แก่การพูดหรือสนทนากันอย่างมีพิธีรีตองเป็นการพูดต่อหน้าชุมชนในโอกาสต่างๆ และเพื่อจุดมุ่งหมายต่างกันเป็นการพูดที่มีแบบแผนเป็นพิธีการต้องอาศัยความรู้ความสามารถ ศิลปะในการพูดและบุคลิกภาพในการพูดซึงสิ่งเหล่านี้ต้องมีการเตรียมตัวก่อนและฝึกฝนเป็นอย่างดี ภาษาต้องสุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
32. Informal Leaders   ผู้นำแบบเป็นทางการ หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานเพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหรือให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎระเบียบขององค์การ
33. Globalization  คือโลกาภิวัตน์ มีความเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมประเพณีเดียวนั้นคือสภาวะโลกไร้พรมแดนได้ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารกันจนเกิดแบบแผนและพัฒนาไปสู่การมีวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างคนจากส่วนต่างๆของโลก
34. Environment   คือ ความสามารถเชิงสมรรถนะหรือสมรรถนะหมายถึงคุณลักษณะทั้งในด้านทักษะความรู้และพฤติกรรมของบุคคลที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงานที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ
35. Organization Cultural คือวัฒนธรรมองค์กรพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยกันเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตนดังนั้นวัฒนธรรมองค์กรก็คือ พฤติกรรมที่สร้างขึ้นจากคนในองค์กรโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กรนั้น ๆ
36. Individual Behavior   คือพฤติกรรมของคนแต่ละคนทัศนคติของผู้คนที่อยู่ในสังคมตั้งสองคนขึ้นไป  
37.Organization Behavior  คือแนวทางในการปฏิบัติของคนในองค์การซึ่งมาจากสิ่งที่คนนำเข้ามาในองค์การได้แก่ความสามารถความคาดหวัง
38.Team working   คือการทำงานเป็นทีมเป็นวิธีที่ดีในการดึงขีดความสามารถของบุคคลมาใช้ทีมที่มีสมรรถนะการทำงานสูงต้องมีความเชื่อถือไว้ใจซึ่งกันและกันระหว่าสมาชิกในทีม
39.SixThinkingHats  คือ หมวกหกใบหกสีแต่ละใบของหมวกคิดทั้งหกจะมีสีต่างกัน ขาว แดง ดำ เหลือง เขียว ฟ้าสีคือชื่อของหมวกแต่ละหมวกสีของแต่ละหมวกยังมีความสัมพันธ์กับการทำงานของมันด้วยสีขาวสีขาวเป็นกลางไม่มีอคติไม่ลำเอียงหมวกขาวจะเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงและตัวเลขสีแดงสีแดงแสดงถึงความโกรธ ความเดือดดาลและอารมณ์สีแดงให้มุมมองทางด้านอารมณ์ สีดำสีดำคือข้อควรระวังและคำเตือนซึงจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของความคิดนั้นๆสีเหลืองให้ความรู้สึกในทางที่ดีหมวกสีเหลืองเป็นมุมมองในทางบวกรวมถึงความหวังและคิดในแง่ดีด้วยหมวกสีเขียวหมายถึงความคิดริเริ่มและความคิดใหม่ๆสีฟ้าหมายถึงการควบคุม การจัดระบบ กระบวนการคิดและการใช้หมวกอื่นๆ                                                                                    
40.Classroom Action Research   คือการวิจัยในชั้นเรียน เป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  ซึ่งเป็นการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเป็นครั้ง ๆ ไปหรือเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งผลการวิจัยที่ค้นพบนี้ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงกับกลุ่มอื่นๆได้เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในวงจำกัด หรือเป็นปัญหาเฉพาะที่ เช่น ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนบางอย่างที่ครูต้องการคำตอบมาอธิบายเฉพาะที่เกิดขึ้นในห้องที่ตนรับผิดชอบอยู่เท่านั้นไม่เกี่ยวกับปัญหาของห้องเรียนอื่นๆการศึกษาปัญหาลักษณะนี้เรียกว่า การวิจัยในชั้นเรียน

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สอบปลายภาค

คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
1. Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
2. ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
3. ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
4. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
5. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
6. ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ

1. Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
ตอบ  Classroom management  (การจัดการชั้นเรียน)  หมายถึงการจัดการที่ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นให้ผู้เรียน เรียนอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน  ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการในชั้นเรียน
 และเกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยครูผู้สอนจะเป็นคนกำหนดว่าห้องเรียนนั้นจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับครูผู้สอน  และครูก็จะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี   จะต้องมีความเมตตา รักเด็กเท่าเทียมกันและเป็นมิตรกับนักเรียน และที่สำคัญ ครูจะต้องเข้าใจได้ทุกคนและรู้รายละเอียดที่สำคัญในตัวของนักเรียนด้วย  นอกจากนั้นการจัดการในชั้นเรียนครูควรให้ความสนใจเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เอาเปรียบคนใดคนหนึ่ง ต้องรู้ว่าเด็กที่เราสอนอยู่ในวัยไหน มีความประพฤติตนอย่างไรและชอบอะไร  เพื่อที่จะได้จัดการเรียน การสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตัวผู้เรียน
2. ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
     -  ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
     -  ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
     -  มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
     -  พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
     -  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
     -  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
     -  รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
     -  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
     -  ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
     -  ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
     -  แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
     -  สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
3. ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน 
ตอบ แนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนของดิฉัน คือการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจให้แก่ผู้เรียน  เมื่อชั้นเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ อากาศดี น่าเรียน และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน มีความขยัน มีความสุข ไม่เครียด และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน 
ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้ เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน นักเรียนจะใช้เวลาอยู่ในชั้นเรียนประมาณวันละ ๕-๖ ชั่วโมง อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์ ให้มีใจรัก และความสามัคคีซึ่งกันและกัน  ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์หรือตามที่ตั้งไว้ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
 1.  การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
2.  ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3.  ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
4.  ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดานชอล์ก แปลงลบกระดาน ฝาผนังเพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวัน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และบริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดเชื้อโรค 
 5.  ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ เช่นการจัดโต๊ะ ชั้นวางของและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้นักเรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่เดิม จะให้นักเรียนเคยชินกับความเป็นระเบียบ
6.  ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมประชาธิปไตย โดยครูอาจจัดดังนี้
    6.1 จัดให้นักเรียนเข้ากลุ่มทำงาน โดยให้มีการหมุนเวียนกลุ่มกันไป เพื่อให้ได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
   6.2จัดที่นั่งของนักเรียนให้สลับที่กันเสมอ เพื่อให้ทุกคนได้มีสิทธิที่จะนั่งในจุดต่างๆ ของห้องเรียน
    6.3 จัดโอกาสให้นักเรียนได้หมุนเวียนกันเป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
7.  ควรจัดชั้นเรียนให้เอื้อต่อหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบันเน้นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และให้ใช้กระบวนการสอนต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรจัดสภาพห้องให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เช่น การจัดที่นั่งในรูปแบบต่างๆ อาจเป็นรูปตัวยู ตัวที หรือครึ่งวงกลม หรือจัดเป็นแถวตอนลึกให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาให้ผู้เรียนรู้สึกกล้าถามกล้าตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น เกิดความใคร่รู้ ใคร่เรียน ซึ่งจะเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพ พัฒนาสังคม และเป็นคนเก่ง ดี มีความสุขได้ในที่สุด
จากที่กล่าวมาทั้งหมด สรุปได้ว่า หลักการจัดชั้นเรียน คือ การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ และการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย อารมณ์  จิตใจ  สติปัญญา  และสังคม  ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความคิดที่ดี สร้างสรรค์และประสิทธิภาพของประเทศชาติต่อไป
4. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1 )การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2 )สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1 ) และข้อ (2 ) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
ตอบ ทางโรงเรียนต้องมีการจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน  สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย  สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้นักเรียนมีสุขภาพ ทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอย่างมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้า แก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน เป็นที่ปรึกษาทุกเรื่อง ทำให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย มีกำลังใจ สะดวกสบายเหมือนกับอยู่ที่บ้าน
5. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
ตอบ คุณภาพผู้เรียนต้องประกอบด้วย
                 มาตรฐานที่ ๑   ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ตัวอย่าง
๑.๑ มีวินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือ
๑.๒ มีความซื่อสัตย์สุจริต
๑.๓ มีความกตัญญูกตเวที
๑.๔ มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวม
๑.๕ ประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตน และส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
๑.๖ ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
มาตรฐานที่ ๒   ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่าง
๒.๑ รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
๒.๒ เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ ๓   ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับ
ผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ตัวอย่าง
๓.๑ มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ
๓.๒ เพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน
๓.๓ ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง
๓.๔ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
๓.๕ มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ
มาตรฐานที่ ๔   ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ
มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
ตัวอย่าง
๔.๑ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและมีการคิดแบบองค์รวม
๔.๒ สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการตัดสินใจได้
๔.๓ ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ
๔.๔ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี และมีจินตนาการ
มาตรฐานที่ ๕   ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ตัวอย่าง
๕.๑ มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์
๕.๒ มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์
๕.๓ สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ
๕.๔ สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
๕.๕ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู
มาตรฐานที่ ๖   ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และ
พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่าง
๖.๑ มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล
๖.๒สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
๖.๓ มีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมาโรงเรียน
มาตรฐานที่ ๗   ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ตัวอย่าง
๗.๑ มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
๗.๒มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
๗.๓ ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ
๗.๔ มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้เกียรติผู้อื่น
๗.๕ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
มาตรฐานที่ ๘   ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
ตัวอย่าง
๘.๑ ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ
๘.๒ ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์
๘.๓ ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ
6. ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
คุณธรรมจริยธรรม
        คุณธรรม หลักของความดี ความงาม ความถูกต้อง และคุณภาพของบุคคลที่ควรยึดมั่นไว้เป็นหลักประจำใจในการประพฤติให้เป็นนิสัย
        จริยธรรม คือ ธรรมะ สิ่งดีงามที่ควรประพฤติปฏิบัติ
คุณธรรม เน้นที่สภาพหรือคุณลักษณะที่แสดงออกว่าดีงาม  ส่วนจริยธรรมเน้นที่การประพฤติที่ดีงาม       การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมแก่ผู้เรียนนั้น ผู้สอนต้องเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน มีบุคลิกที่เหมาะสม วางตนได้เหมาะสม เป็นตัวอย่างในด้านความประพฤติ มีเมตตา จริงใจ  อบรมสั่งสอนกริยามรรยาท ดูแลความประพฤติของนักเรียน คอยช่วยเหลือแก้ไขเมื่อผู้เรียนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
       การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม  มีผู้เสนอหลักการไว้ 4 ด้าน คือ
โดยการปรับพฤติกรรม มีเทคนิค คือ การให้แรงเสริมทางบวก การให้ตัวแบบ  การแต่งพฤติกรรม การชี้แนะ  การลงโทษ และการควบคุมตัวเอง
           การพัฒนาคนหรือทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ของการพัฒนาที่ยั่งยืน และสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาคนก็คือ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ต้องให้รู้ความหมายของคำเหล่านี้อย่างชัดเช่นโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลาย ๆ รูปแบบ โรงเรียนมีหน้าที่โดยตรงในการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีงาม ให้แก่นักเรียนให้เป็นคนดีมีคุณภาพ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
             โดยทางโรงเรียนต้องตระหนักในความสำคัญส่วนนี้ จึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ เสียสละ ขยัน ประหยัด อดทน และมีสัมมาคารวะ ให้นักเรียนได้สัมผัสความดีที่เป็นรูปธรรม จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ในรูปแบบของวิถีชีวิตไทย การออมทรัพย์วันละบาท และธนาคารแห่งคุณธรรม 
             การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมจริยธรรมให้นักเรียน ด้วยการปรับปรุงระเบียบการลงโทษนักเรียน มาเป็นระเบียบการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน งดการลงโทษทุกวิธี แต่เปลี่ยนเป็นการส่งเสริมให้นักเรียน ทำความดีทดแทนความผิด ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ 5 ขั้นตอนคือ
             1. ให้นักเรียนวิเคราะห์ความผิดของตนเอง
             2. ครูอาจารย์ ชมว่านักเรียนเป็นคนซื่อสัตย์ ทำผิดแล้วยอมรับผิด
             3. ให้นักเรียนเสนอวิธีทำความดีทดแทน
             4. นักเรียนปฏิบัติตามวิธีที่เสนอและครูอาจารย์ติดตามผล
             5. ประกาศความดีให้ทุกคนประจักษ์
จะทำให้นักเรียนทุกคนมีศักดิ์ศรี มีคุณค่า มีความแตกต่างทำให้เกิดความมุ่งมั่นว่า เด็กทุกคนสามารถพัฒนาให้เป็นคนดีได้ ซึ่งต้องใช้ทฤษฎีเสริมแรงเข้าช่วย โดยการให้ความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ความเป็นมิตร การยอมรับซึ่งกันและกัน การให้รางวัลแทนการลงโทษ ให้โอกาส และสร้างโอกาสให้นักเรียนประพฤติตนเป็นคนดี
             ทางโรงเรียนต้องจัดทำโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โดยใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเพื่อนรักรักเพื่อน" มุ่งเน้นให้นักเรียนกระทำตนเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์ เสียสละ ขยัน ประหยัด อดทน และมีสัมมาคารวะ จึงเป็นเพื่อนที่รักของนักเรียนคนอื่น ๆ ขณะเดียวกันก็จะเลือกคบเพื่อนรักที่เป็นคนดีและสามารถพัฒนาตนเองจนเป็นที่รักของทุกคน ในโครงการดังกล่าวนี้จะประกอบด้วยกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมที่เป็นหัวใจสำคัญของโครงการคือ
             1. กิจกรรมวิถีชีวิตในโรงเรียน
             2. กิจกรรมออมทรัพย์วันละบาท
             3. กิจกรรมธนาคารแห่งคุณธรรม กิจกรรมวิถีชีวิตในโรงเรียน
             เป็นการปฏิบัติตนของนักเรียน เริ่มตั้งแต่นักเรียนมาถึงโรงเรียนในตอนเช้าบริเวณประตูโรงเรียน บริเวณโรงอาหาร ในห้องเรียน ก่อนเข้าแถว การเล่นนอกห้องเรียน การเข้าแถวเคารพธงชาติ โฮมรูม การเข้าแถวไปเรียนวิชาพิเศษ มารยาทในห้องเรียน การใช้ห้องน้ำห้องส้วม การรับประทานอาหารกลางวัน การทิ้งขยะ การรอผู้ปกครอง การกลับรถรับ - ส่ง
กิจกรรมออมทรัพย์วันละบาท
             นักเรียนในแต่ละห้องฝากเงินออมทรัพย์ประจำวัน กับเจ้าหน้าที่การเงินของห้อง และเมื่อสิ้นปีการศึกษา ประมาณต้นเดือนมีนาคมอาจารย์ที่ปรึกษา เบิกเงินจากธนาคารจ่ายคืนให้คณะกรรมการ นักเรียนที่ทำหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ของกิจกรรมออมทรัพย์เพื่อจ่ายคืนแก่ผู้ฝากแต่ละห้อง ตามจำนวนเงินในหลักฐานสมุดบัญชีของห้อง