วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 14

ให้นักศึกษาศึกษา Power point  แล้วตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?
ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?
Link Powerpiont1

1. การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?
            คือ ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Mind Mapping สอนให้เกิดความคิดองค์ความรู้ใหม่ๆและกระจายองค์ความรู้เป็นของตนเองแล้วสรุปออกมาเป็นแผนผังความคิด ซึ่งทำให้ผู้สอนได้ทราบว่าผู้เรียนมีความสามารถ ความถนัด และความคิดที่หลากหลายในการที่จะวิเคราะห์เนื้อหาและทราบว่า ผู้เรียนสามารถที่จะสรุปเนื้อหาได้ตรงประเด็นและถูกต้องสมบูรณ์
         การสอนโดยใช้ Mind Mapping  เป็นวิธีทางหนึ่งที่ดีเพื่อใช้ในการสอนทำให้ผู้เรียนมีความคิดวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี
ข้อดี  Mind Mapping มีดังนี้
1.  ช่วยประกอบในการเรียนการสอนของนักเรียน
2.  ใช้ในกรณีการตัดสินใจกับทางเลือกหลายๆทาง
3.  ช่วยในการสรุปงานทุกอย่าง
4.  ใช้รวบรวมข้อมูลความคิด  ความคิดเห็น และแนวคิดต่างๆ
2. ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?
            การสอนแบบหมวก 6 ใบนั้นมันจะคลอบคลุม พฤติกรรมทุกด้านที่สามารถนำไปปฏิบัติตามได้โดยมีรายละเอียดดังนี้
 หมวกขาว : ข้อเท็จจริง ตัวเลข ที่เป็นกลาง ไม่ปะปนกับข้อคิดเห็น หรืออารมณ์ความรู้สึกหรือเหตุผลด้านใดทั้งสิ้น
หมวกแดง : อารมณ์ความรู้สึก
หมวกดำ : เหตุผลด้านลบ
หมวกเหลือง : เหตุผลด้านบวก
หมวกเขียว : ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ๆ
หมวกฟ้า : การควบคุมขั้นตอนการคิด และขั้นตอนการใช้หมวกทั้ง 6 ใบ
         ในการคิดแบบหมวก6ใบการคิดเพียงครั้งละด้านจะช่วยให้แยกความรู้สึกออกจากเหตุผล ความคิดสร้างสรรค์ออกจากการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น ผู้คิดสวมหมวกเพียงใบหนึ่งใบใดจาก 6 ใบ เพื่อจำกัดให้คิดเพียงครั้งละด้าน จึงสามารถชักนำ และควบคุมกระบวนการทางความคิดและกระบวนการระดมความคิด ทั้งกรณีมีผู้คิดคนเดียว และกรณีมีผู้คิดร่วมกันหลายคน โดยเฉพาะในที่ประชุมที่จะมีประโยชน์มาก หากให้บุคคลเปลี่ยนหมวกเพื่อไปคิดในด้านที่ต่างไปจากที่เขาเคยชิน เพื่อเป็นการเปลี่ยนมุมมองของแต่ละคน
          ส่วนการสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน  เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก  โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา  ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้การให้นักเรียนผู้ทำโครงงานได้เสนอผลงาน เป็นการเผยแพร่ผลงาน กิจกรรมนี้จะส่งเสริมให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออก เชื่อมั่นในผลงาน ตอบข้อซักถามของผู้สนใจได้  ซึ่งในการเขียนโครงงานเราต้องมีข้อมูลต่อไปนี้
         1.  ชื่อโครงงาน  2.  ชื่อผู้ทำโครงงาน     3.  ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน 
         4.  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน   5.  วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า   
         6.  สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี)  7.  วิธีดำเนินงาน
         8.  แผนปฏิบัติงาน   9.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ    10. เอกสารอ้างอิง
           โดยสรุปแล้วไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนแบบ หมวก 6 ใบ หรือแบบโครงงานล้วนก็มีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างซึ่งการเขียนโครงงานจะทำตามขั้นตอนแต่หมวก 6 ใบจะคิดแบบอิสระ แต่ทั้งสองก็มีความสำคัญทั้ง 2 อย่าง โดยเราสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับตัวเราเมื่อเราได้ออกไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและใช้ในชีวิตประจำวัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น